10 แนวทางช่วยคุณแม่ให้นม 365 วัน




แม้ว่านมแม่จะมีความสำคัญกับลูกมากน้อยแค่ไหน แต่ลูกทุกคนก็ไม่ได้กินนมแม่ไปตลอด บางคนอาจจะกินได้เพียง 5 เดือน 6 เดือน หรือน้อยกว่านั้น ขณะที่บางคนอาจจะกินไปจนถึงขวบปีแรก ซึ่งเหตุผลที่คุณแม่จำนวนมากมีระยะเวลาที่ต่างกันในเรื่องของการให้นมลูกนั้นเป็นเพราะว่าความแตกต่างทางด้านหน้าที่การงาน สังคม และคนในครอบครัว เช่นแม่ส่วนหนึ่งสามารถลางานได้เพียงสามเดือนก็ต้องกลับมาทำงานตามปกติ ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งอาจลาออกมาเลี้ยงลูก เป็นแม่บ้านเต็มตัวก็มีอยู่ไม่น้อย

ทั้งนี้ คริสทีน ฟอสเตอร์ นักเขียนชาวอเมริกันเผยว่า การที่เด็กได้กินนมแม่นั้นจะแตกต่างจากเด็กที่กินนมขวดเป็นอย่างมาก ดังนั้นคริสทีนจึงเสนอเคล็ดลับดีๆที่จะทำให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ซึ่งทางที่ดีคือควรให้นมลูกจนลูกมีอายุครบ 1 ขวบ

และ10 วิธี ที่แม่จะสามารถให้นมลูกถึง 365 วันนั้น มีดังนี้

1. ขอความช่วยเหลือ
www.wellsphere.com
ถึงแม้คุณแม่ส่วนใหญ่จะเริ่มให้ลูกกินนมแม่จากอกแม่หลังคลอด แต่คุณแม่มักจะไม่เคยมีประสบการณ์ตรงในการให้นมลูกมาก่อน ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงที่คุณแม่มือใหม่ต้องเผชิญหลังคลอดบุตรเป็นเรื่องที่ยากจะคาดเดา และบ่อยครั้งก็น่าประหลาดใจ

อย่างไรก็ดี หลักการทางทฤษฎีในการวางแผนให้ลูกกินนมจากอกแม่อาจจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการให้นมลูกในทางปฏิบัติ ซึ่งการได้รับความช่วยเหลือจากผู้มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการให้ลูกกินนมจากอกแม่จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายใจและมั่นใจมากขึ้น

ดังนั้นการให้สมาชิกในครอบครัวและเพื่อนๆ ได้รับรู้เกี่ยวกับเป้าหมายของการให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของคุณก็อาจจะช่วยได้มาก เพราะพวกเขาจะคอยช่วยเหลือคุณแม่ลูกอ่อนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเข้าใจธรรมชาติของแม่และลูกได้มากขึ้นด้วย
2. ที่สาธารณะ...แล้วยังไง?

การฝึกหัดที่จะให้ลูกกินนมจากอกแม่ในที่สาธารณะอาจจะเป็นเรื่องลำบากมาก โดยเฉพาะในชุมชนที่การให้ลูกกินนมจากอกแม่ไม่ใช่เรื่องปกติ ผู้หญิงที่รู้สึกไม่มั่นใจที่จะให้นมลูกในที่สาธารณะมักจะมีปัญหาในการให้ลูกกินนมจากอกแม่

ถ้าคุณแม่ไม่ต้องการให้นมลูกในที่สาธารณะ ก็ควรจะต้องลดกิจกรรมนอกบ้านลง หรือจะต้องปั๊มนมออกมาเก็บไว้เพื่อให้ลูกกินนมจากขวด ทั้งสองวิธีอาจจะเป็นเรื่องน่าอึดอัดและจำกัดสายสัมพันธ์ของการให้ลูกกินนมจากอกแม่

คุณแม่บางคนรู้สึกว่าเสื้อให้นมมีประโยชน์มากเวลาให้นมลูกในที่สาธารณะ ในขณะที่บางคนก็รู้สึกว่าการให้นมลูกโดยการเปิดเสื้อขึ้นจากด้านล่างและจับให้ทารกบังผิวหนังที่เปิดเผยก็สะดวกพอๆกัน

3. บอกลา "ขวดนม-จุกนมเทียม"

หนังสือ “THE BREASTFEEDING ANSWER BOOK” ระบุว่าการตอบสนองความต้องการในการดูดของทารกด้วยสิ่งอื่นนอกเหนือจากเต้านมมีโอกาสทำให้เกิดการหย่านมเร็วกว่าที่ควร การใช้จุกนมยางในช่วงสัปดาห์แรกๆ สามารถรบกวนความสามารถของทารกในการดูดนมจากอกแม่
La Leche League(หน่วยงานที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีการจัดการประชุมอบรมเพื่อให้ความรู้และความช่วยเหลือกับคุณแม่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งสำหรับในประเทศไทย คุณแม่สามารถขอความช่วยเหลือหรือหาความรู้ได้จากศูนย์นมแม่ในโรงพยายาบาลต่างๆ )แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้จุกนมยางในช่วงสัปดาห์แรกๆ โดยระบุว่า

“จุกนมเทียมคือสารสังเคราะห์ที่นำมาทดแทนสิ่งที่เต้านมทำได้โดยธรรมชาติ ทารกที่กินนมจากอกแม่มักจะกินนมจนหลับไปทั้งตอนนอนกลางวันและตอนกลางคืน การใช้จุกนมเทียมตามที่สถาบันกุมารเวชศาสตร์แนะนำอาจจะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงเนื่องจากเต้านมได้รับการกระตุ้นน้อยลง และอาจจะมีผลต่อระยะเวลาของการให้ลูกกินนมจากอกแม่”

4. หาวิธีให้คุณพ่อได้มีส่วนร่วม

หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้คุณแม่มือใหม่ตัดสินใจปั๊มนมใส่ขวดให้ลูกกินแทนการให้กินจากอกแม่ก็คือ พวกเขาอยากให้คุณพ่อได้มีส่วนร่วมในการให้นมลูกโดยใช้ขวดด้วย แต่การให้นมโดยใช้ขวดบ่อยๆ อาจนำไปสู่การหย่านมเร็วกว่าที่ควร

ดังนั้นการหาวิธีอื่นที่คุณพ่อจะสามารถเชื่อมโยงกับทารกได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ หลายครอบครัวใช้การอาบน้ำหรือนวดตัวให้ทารกเป็นโอกาสพิเศษที่จะสร้างความผูกพันระหว่างพ่อกับลูก เพราะทารกมีโอกาสสัมผัสเนื้อแนบเนื้อกับพ่อและทำให้เขารู้สึกสบายขึ้น
5. สร้างวินัยประจำวัน

คุณแม่อาจรู้สึกสับสนเวลาได้ยินคำพูดว่า ทารก “ควรจะ” ได้กินนมจากอกแม่ 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง หรือทารก “ควร” ได้กินนมจากอกแม่ 10-15 นาที ในขณะที่ลูกของตนเองไม่ได้ทำตามนี้

ทั้งนี้ หนังสือ THE BREASTFEEDING ANSWER BOOK เขียนไว้ว่า “ระยะเวลาในการให้นมลูกจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับบุคลิกของทารกและอายุของพวกเขา ลักษณะการกินนมจากอกแม่ของทารกอาจจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยเมื่อเขาโตขึ้น” ดังนั้นจึงไม่ต้องเคร่งครัดมากจนเกินไป เพียงแค่ทำให้เป็นวินัยจนกลายเป็นความเคยชินก็พอ
6. ให้นมลูกเพื่อปลอบโยน
คุณแม่บางคนกังวลว่าการให้ลูกกินนมจากอกแม่เพื่อช่วยปลอบลูกเวลาที่เขาหงุดหงิดไม่สบายใจจะทำให้ทารกสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับอาหารไปในทางที่ไม่เหมาะสม พวกเขากังวลว่าลูกจะใช้อาหารเป็นเครื่องระบายอารมณ์มากว่าจะกินเพื่อตอบสนองความหิวทางกาย และพวกเขาอาจจะเชื่อว่าการพยายามแยกอาหารออกจากอารมณ์เป็นเรื่องที่ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม เวลาที่คุณให้ลูกกินนมจากอกเพื่อปลอบโยนลูก คุณกำลังกระตุ้นให้เขาหันมาหาคุณเวลาที่เขารู้สึกไม่สบายใจ แทนที่จะหันไปหาสิ่งของที่ไม่ใช่มนุษย์ การได้ติดต่อกับมนุษย์มีความสำคัญมากกว่าน้ำนม นอกจากนี้การให้ลูกกินนมจากอกแม่ยังช่วยให้ปริมาณน้ำนมไม่ลดลง และช่วยกระตุ้นเตือนทารกว่า เขาจะสามารถทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นได้โดยการกินนมจากอกแม่
7. รับรู้สัญญาณของการอดนมประท้วง (Nursing Strike)
อาจมีบางช่วงเวลาที่ทารกจะรู้สึกอยากกินนมจากอกแม่มากขึ้นหรือน้อยลง แม้จะไม่ใช่เรื่องปกติที่ทารกจะอยากหย่านมก่อนอายุ 1 ขวบ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณแม่บางคนจะคิดว่าลูกน้อยของเธอกำลังจะ “หย่านม” ซึ่งในความจริงแล้ว ทารกกำลัง “อดนมประท้วง” (Nursing Strike) หรือกำลังมีพัฒนาการด้านอื่นๆ อย่างมากจนทำให้พวกเขารู้สึกสนใจที่จะกินนมจากอกแม่น้อยลง หนังสือ THE BREASTFEEDING ANSWER BOOK กล่าวไว้ว่าการอดนมประท้วงมักจะพบได้บ่อยในทารกช่วงอายุ 3-8 เดือน

อีกช่วงเวลาหนึ่งที่จะดูคล้ายกับการหย่านมแต่ไม่ใช่ คือช่วงประมาณ 6เดือน ตอนที่ทารกเริ่มจะเคลื่อนไหวเองได้และเริ่มรู้จักสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวมากขึ้น บางสิ่งอาจจะดึงดูดความสนใจของพวกเขาไปจากการกินนมจากอกแม่
คุณแม่บางคนพบว่าการให้ลูกกินนมถี่ขึ้น พาเขาเข้าไปให้นมในห้องมืดๆ หรืออาศัยช่วงเวลาตอนกลางคืนในการให้นมลูก จะช่วยให้พวกเขาผ่านปัญหาช่วงนี้ไปได้ บ่อยครั้งที่ทารกปฏิเสธการกินนมจากอกแม่ เพราะมีสิ่งที่ทำให้เขาไม่สบายใจเกิดขึ้น เช่น การป่วย ฟันขึ้น หรือการเปลี่ยนแปลงในครอบครัว เช่น การย้ายบ้าน หรือบางครั้งทารกก็อาจจะอยากหย่านมก่อนอายุ 1 ขวบ แต่มักจะเกิดขึ้นไม่บ่อย ประโยชน์ของการให้ลูกกินนมจากอกแม่ต่อสุขภาพของทารกมีความสำคัญมาก มันจึงคุ้มค่าที่จะพยายามทำให้ทารกไม่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่จะนำไปสู่การหยุดกินนมจากอกแม่โดยสิ้นเชิง

8. ค่อยคิด ค่อยตัดสินใจ
คุณแม่บางคนเป็นนักวางแผน พวกเขาต้องการตัดสินใจว่าทารกควรจะกินนมจากอกแม่นานเท่าไรตั้งแต่ทารกยังไม่คลอด พวกเขาคิดว่า “ฉันไม่ต้องการให้ลูกกินนมจากอกแม่จนถึง 3 ขวบ ดังนั้นฉันจะต้องให้ลูกหย่านมตอนนี้”

คุณแม่คนอื่นอาจจะวางแผนให้ลูกกินนมจากอกแม่จน 1 ขวบหรือนานกว่านั้น แต่อาจจะรู้สึกว่ารับมือกับสถานการณ์ไม่ได้ในช่วงแรกๆ จนกลัวว่าจะไม่สามารถทำตามเป้าหมายได้

แทนที่จะตัดสินใจไปล่วงหน้าอย่างเด็ดขาด แม่ควรค่อยๆ จัดการไปทีละวัน ตอนที่ลูกของคุณเป็นทารกแรกคลอด ภาพของการต้องให้นมลูกวัย 12 เดือนตัวใหญ่9. น้ำนมทางเลือก

บางครั้งคุณแม่อาจจะให้ลูกกินนมผสม เพื่อแก้ปัญหาปริมาณน้ำนมไม่พอในระหว่างที่คุณแม่ไปทำงาน หรือกรณีที่คุณแม่เลือกจะปั๊มนมเก็บไว้ใช้ตอนไม่ได้อยู่กับลูก

10. มีความสุขกับช่วงเวลาสำคัญ

การที่หัวใจคุณหลงรักการให้ลูกกินนมจากอกแม่เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งแม่ควรจะพยายามทำให้การให้ลูกกินนมจากอกแม่ไม่มีความเจ็บปวด

“หลีกเลี่ยงสิ่งขวางกั้นระหว่างคุณกับลูก ซึ่งรวมไปถึงแผ่นรองหัวนมหรือขวดที่ใส่นมที่ปั๊มออกมา เวลาที่มีอะไรขวางกั้นระหว่างคุณกับลูก มันจะทำให้สถานการณ์ยากขึ้น และโอบกอดลูกของคุณไว้ สูดกลิ่นหอมจากตัวลูก มองดูน้ำนมที่ร่างกายของคุณผลิตหยดไหลจากมุมปากของลูก การหลงรักต้องการทุกประสาทสัมผัส”

อย่างไรก็ดี ช่วงเวลานี้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับเด็กนั้นคือช่วงที่ลูกเพิ่งเกิดไปจนถึงขวบปีแรก ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ คุณแม่ลูกอ่อนทั้งหลายควรเอาใจใส่และให้ลูกกินนมจากอกให้นานที่สุดเท่าที่จะให้ได้นะคะเบิ้มอาจจะน่าหวั่นใจ แต่เมื่อคุณแม่ช่วยลูกเป่าเค้กวันเกิดฉลอง 1 ขวบ คุณจะเห็นว่าลูกของคุณก็ไม่ได้ตัวโตขนาดนั้น
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์14 กันยายน 2552 17:51 น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หน้ากากอนามัยใส่ให้เป็น

10 กิจกรรมแก้เบื่อคุณแม่ตั้งครรรภ์ (หากต้องลาออกมาอยู่กับบ้าน)

กินวิตามินซี (เม็ด) ดีมั้ย ?